วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ศูนย์การเรียนรู้

ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน


















ข้อเสนอโครงการ


ข้อเสนอโครงการ

โครงการสถานีผลิตพลังงานในหน่วยงานสถานศึกษาและโรงพยาบาลของรัฐ (Campus Power)





http://www.kroobannok.com/news_pic/p72470241002.jpgเสนอ



ปีงบประมาณ 2558




โดย
โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม
สิงหาคม 2558


บทสรุปผู้บริหาร

1.        ชื่อโครงการ
โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ สำหรับใช้ในโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม

2.        วันที่เสนอโครงการ
14  สิงหาคม 2558

3.        ประเภทของโครงการ
แผนพลังงานทดแทน กลุ่มงานโครงการสาธิตหรือริเริ่ม

4.        หน่วยงาน
โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม 144 หมู่ 4 ถนนแสงชูโต  ตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

5.        สรุปโครงการโดยย่อ
      โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมมีความพร้อมที่จะร่วมผลักดันส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2557 เทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จึงเป็นทางเลือกที่สามารถจะนำมาติดตั้ง ใช้งานและเห็นผลจับต้องได้ในช่วงระยะเวลาสั้น       ที่สามารถใช้งานได้ในระยะยาวกว่า 20 ปี แต่ด้วยต้นทุนของการติดตั้งใช้งานระบบมีมูลค่าสูงมาก จึงจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในการเสริมความมั่นคง          ทางพลังงานให้กับโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 200 กิโลวัตต์ มาใช้เพื่อสามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงได้ อีกทั้งก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานถ่ายทอดประสบการณ์สู่นักเรียนและผู้ที่สนใจด้านพลังงานทดแทนตลอดจนเพื่อเป็นการเสริมในกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนและภาคประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย
6.        งบประมาณ
งบประมาณในติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระบบ Grid connect ขนาด 200 กิโลวัตต์ ในวงเงิน 9,986,000 บาท




7.        การบริหารโครงการ
บริหารโครงการโดยโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม  โดยมีนายหงษ์ดี  ศรีเสน ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ท่ามะกาวิทยาคมเป็นผู้อำนวยการโครงการ ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านนโยบายการดำเนินงานโครงการและการปฏิบัติในภาพรวม

8.        ระยะเวลาโครงการ
ระยะเวลาดำเนินการทั้งโครงการ 12 เดือน นับตั้งแต่วันลงนามในหนังสือยืนยันการขอรับการสนับสนุน

9.        ประโยชน์ที่มีต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
โครงการสามารถก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานได้ ดังนี้คือ ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงได้ไม่น้อยกว่า 720,000หน่วย/ปี

10.    ความเป็นไปได้ในการนำผลการดำเนินการไปใช้
      ด้านวิชาการเสริมความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าให้กับประเทศชาติ และกระจายพื้นที่การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีพลังงานทดแทนให้มากขึ้นและพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ให้มีความรู้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เรียนรู้ข้อจำกัด วิธีจัดการอุปสรรคและปัญหา ตลอดจนความสามารถในการนำไปใช้ในหน่วยงานได้ 
      ด้านอุตสาหกรรม และพาณิชย์เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้มีการใช้งานแพร่หลายมากขึ้นซึ่งจะส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาด้านคุณภาพที่ดีขึ้นและมีราคาถูกลงอันจะเป็นโอกาสให้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางมากขึ้







โครงการสถานีผลิตพลังงานในหน่วยงานสถานศึกษาและ
โรงพยาบาลของรัฐ (Campus Power)

1.   หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็นหลัก [1] ข้อมูลในปี 2554 พบว่ากว่า ร้อยละ 60 ของความต้องการพลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นมาจากการนำเข้า โดยมีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันสูงถึงร้อยละ 80 ของปริมาณการใช้น้ำมันทั้งหมดภายในประเทศและยังมีแนวโน้มจะสูงขึ้นอีกเพราะไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตปิโตรเลียมในประเทศได้ทันกับความต้องการใช้งาน การพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างจริงจังจะช่วยลดการพึ่งพาและการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและพลังงานชนิดอื่น และยังช่วยกระจายความเสี่ยงในการจัดหาเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตไฟฟ้าของประเทศ โดยพลังงานทดแทนถือเป็นหนึ่ง ในเชื้อเพลิงเป้าหมายที่คาดว่าจะสามารถนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าทดแทนก๊าซธรรมชาติได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมแบบทุ่งกังหันลม พลังน้ำขนาดเล็ก ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ และหากเทคโนโลยีพลังงานทดแทนเหล่านี้มีต้นทุนถูกลงและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ก็อาจสามารถพัฒนาให้เป็นพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยได้ในอนาคตกระทรวงพลังงานจึงได้จัดทำแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายใน 10 ปี (พ.ศ.2555-2564) จะมีการใช้พลังงานทดแทนในสัดส่วน 25%

2.   วัตถุประสงค์
- เพื่อเสริมความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าให้กับภารกิจของหน่วยงานภายในกองทัพอากาศและกระจายพื้นที่การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีพลังงานทดแทนให้มากขึ้น 
    - เพื่อพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ มีประสบการณ์ตรงในกระบวนการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เรียนรู้ข้อจำกัด วิธีจัดการอุปสรรคและปัญหา ตลอดจนความสามารถในการนำไปใช้ในหน่วยงาน
- เพื่อเป็นการเสริมในกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนและภาคประชาชน ในการนำความรู้ด้านพลังงานเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น


3.   ลักษณะของปัญหาที่เกิดและความจำเป็นในการดำเนินโครงการ

    โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม มีความประสงค์ขอรับการสนับสนุนโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ระบบ Grid connect ขนาด 200 กิโลวัตต์ เสริมความมั่นคงทางพลังงานให้กับโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมพร้อมถ่ายทอดประสบการณ์สู่นักเรียนและผู้ที่สนใจด้านพลังงานทดแทนตลอดจนเพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนและภาคประชาชน ในพื้นที่ใกล้เคียง และเป็นแหล่งเรียนรู้แล้ว ยังสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าที่ใช้ในโรงเรียน

4.   ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

  โครงการสามารถก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานได้ ดังนี้
  4.1 เป็นโรงเรียนตัวอย่างในการส่งเสริม สนับสนุนการอนุรักษ์พลังงาน
    4.2 เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในสถานศึกษาของรัฐบาล
    4.3 เสริมความมั่นคงด้านพลังงานของโรงเรียนและสามารถลดภาระด้านพลังงาน                                  ภายใต้ภาวะวิกฤติพลังงาน
    4.4 สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงได้ไม่น้อยกว่า 720,000 หน่วย/ปี
    4.5 ลดการนำเข้าน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย

5.   ขอบเขตของการดำเนินงาน และวิธีดำเนินงาน

   ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ระบบ Grid connect ขนาด 200 กิโลวัตต์สำหรับใช้ในโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมโดยมีวิธีการดำเนินงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การดำเนินงานออกแบบระบบใช้เวลาภายใน 2 เดือน นับจากวันลงนามในหนังสือยืนยันการขอรับการสนับสนุน ผู้รับผิดชอบฝ่ายเทคนิคโครงการ
  ขั้นตอนที่ 2 จัดซื้อจัดจ้างและลงนามในสัญญาใช้เวลาภายใน 5 เดือน 15 วัน นับจากวันลงนามในหนังสือยืนยันการขอรับการสนับสนุน
    ขั้นตอนที่ 3 ติดตั้งพร้อมตรวจสอบระบบฯใช้เวลาภายใน 11 เดือนนับจากวันลงนามในหนังสือยืนยันการขอรับการสนับสนุน
    ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลการติดตั้งใช้เวลาภายใน 11 เดือนนับจากวันลงนามในหนังสือยืนยันการขอรับการสนับสนุน
  ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลการดำเนินโครงการใช้เวลาภายใน 11 เดือนนับจากวันลงนามในหนังสือยืนยันการขอรับการสนับสนุน

 

 

 

 

6.   เทคโนโลยี หรือเครื่องจักรอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในโครงการ

  แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบ Grid connect พร้อมอุปกรณ์ประกอบของระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์

7.   แนวทางการบริหารจัดการเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้

 

8.   ระยะเวลาและแผนการดำเนินงาน

          โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม คาดว่าจะใช้เวลาในการดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ในเวลา 12 เดือนนับจากการลงนามในหนังสือยืนยันกับกองทุนฯ โดยมีกรอบแผนดำเนินการ ดังนี้
กิจกรรม
เดือนที่
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
1
ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด200กิโลวัตต์













1.1
ออกแบบรายละเอียดระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์
P
P











1.2
จัดซื้อจัดจ้างและลงนามในสัญญา


P
P
P








1.3
ส่งวัสดุ





P
P
P





1.4
ติดตั้งพร้อมตรวจสอบระบบฯ





P
P
P
P
P
P


1.5
ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลระบบฯ











P

1.6
ติดตามและประเมินผล

P
P
P
P
P
P
P
P
P
P
P
2
การจัดทำรายงานความก้าวหน้าของโครงการ





u





v
3
ทำการประชาสัมพันธ์และแสดงองค์ความรู้เกี่ยวกับโครงการแก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและชุมชนโดยรอบ






P
P
P
P
P
P
4
ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลระบบฯ เกี่ยวกับการบำรุงรักษาโครงการ











P
5
การเบิกจ่ายเงินจากกองทุน
P





P





แผนการดำเนินการในเบื้องต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


9.   การติดตามและรายงานความก้าวหน้า

      โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมจะจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอ พพ. จำนวน 2 ฉบับ ภายในกำหนดเวลาดังนี้
รายละเอียด
กำหนดเวลาส่งรายงาน
รายละเอียดของกิจกรรมที่จะส่ง
รายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 1
ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ ลงนามในหนังสือยืนยันรับการการสนับสนุน
รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ
ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา
รายงานฉบับสมบูรณ์

ภายใน 12 เดือนนับตั้งแต่วันที่ลงนามในหนังสือยืนยันรับการการสนับสนุน
รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ
ตลอดระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
มีรายละเอียดทุกกิจกรรมครบถ้วน สมบูรณ์


10.    รายละเอียดค่าใช้จ่ายและแผนการใช้จ่ายเงินของโครงการ

งบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ฯ ในระยะเวลา 12 เดือน เป็นเงินทั้งสิ้น
9,986,000 บาทจะแบ่งการเบิกจ่ายออกเป็น 3 งวด สนับสนุน ดังนี้

งวดที่
จำนวนเงิน (บาท)
เงื่อนไขการเบิกจ่าย
งวดที่ 1
3,994,400
(40 %)
เบิกจ่ายภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ลงนามในหนังสือยืนยันรับเงินสนับสนุน
งวดที่ 2
2,995,800
(30 %)
เบิกจ่ายภายใน 30 วัน นับแต่ พพ. เห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานฉบับที่ 1
งวดที่ 3
2,995,800
(30 %)
เบิกจ่ายภายใน 30 วัน นับแต่ พพ. เห็นชอบ รายงานฉบับสมบูรณ์








เอกสารประกอบ 1
บุคลากรโครงการ





ตัวอย่าง
องค์กรและการบริหาร
 















ตัวอย่าง
ประวัติและประสบการณ์ของผู้ร่วมในโครงการ

          ผู้ลงนาม  พลอากาศเอก วิจิตร์  จิตร์ภักดี
           ผอ.สบท.สปช.ทอ                                                           พ.ศ.2551
           รองปลัดบัญชีทหารอากาศ                                                พ.ศ.2554
                    ปลัดบัญชีทหารอากาศ                                                     พ.ศ.2556
ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ                                          พ.ศ.2557
          ผู้อำนวยการโครงการ พลอากาศตรี ชลิต รัมมะวาส
           เสนาธิการกรมช่างโยธาทหารอากาศ                                     พ.ศ.2554
           รองเจ้ากรมช่างโยธาทหารอากาศ                                         พ.ศ.2556
           ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ                                               พ.ศ.2557
           เจ้ากรมช่างโยธาทหารอากาศ                                             พ.ศ.2557
ผู้ประสานงานหลัก  นาวาอากาศเอก สมศักดิ์  เสนกรรหา
                   หัวหน้าฝ่ายสถิติและวิเคราะห์ แผนกตรวจสอบควบคุมคุณภาพ
                        กองวิทยาการ ชย.ทอ.                                                        พ.ศ.2545
รองหัวหน้าแผนกวิทยาการ กองวิทยาการ ชย.ทอ.                      พ.ศ.2547
หัวหน้าแผนกตรวจทดลองและควบคุมมาตรฐาน กองวิทยาการ ชย.ทอ. พ.ศ.2548
                   หัวแผนกวิศวกรรมระบบ กองออกแบบก่อก่อสร้าง กองวิทยาการ ชย.ทอ.พ.ศ.2551
                   หัวหน้ากองออกแบบก่อสร้าง กองวิทยาการ กรมช่างโยธาทหารอากาศ พ.ศ.2554
                    รองผู้อำนวยการกองวิทยาการ กรมช่างโยธาทหารอากาศ                 พ.ศ.2557
ผู้ประสานงานด้านการเบิกจ่ายเงิน  นาวาอากาศเอกหญิง สดับพร  นิ่มนวลงาม
รองผู้อำนวยการกองการเงิน กรมการเงินทหารอากาศ                   พ.ศ.2557


             โครงสร้างการบริหารโครงการ


 












..






ประวัติและประสบการณ์การทำงาน
ผู้อำนวยการโครงการ
ชื่อ-สกุล               นายหงษ์ดี  ศรีเสน
ตำแหน่ง              ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม
คุณวุฒิการศึกษา     ปริญญาโท (กศ.ม. การบริหารการศึกษา)
ประสบการณ์ทำงาน  29  ปี

ฝ่ายการเงินและบัญชี
ชื่อ-สกุล               นายศิลปพิสุทธิ์ พันชะวะนัด
ตำแหน่ง              รองผู้อำนวยการชำนาญการ  ด้านบริหารงานทั่วไป 
คุณวุฒิการศึกษา     ปริญญาโท (กศ.ม. การบริหารการศึกษา)
ประสบการณ์ทำงาน 13  ปี

ชื่อ-สกุล               นางสาวสิริลักษณ์  ภัทรเวียงกาญจน์
ตำแหน่ง              ครูการเงิน   
คุณวุฒิการศึกษา     ปริญญาตรี (บธ.บ. บริหารธุรกิจ)
ประสบการณ์ทำงานปี

ฝ่ายเทคนิค
ชื่อ-สกุล               นายพิทักษ์  อยู่เป็นสุข
ตำแหน่ง              รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ  ด้านบุคลากร  
คุณวุฒิการศึกษา     ปริญญาโท (กศ.ม.)
ประสบการณ์ทำงาน 33  ปี

ชื่อ-สกุล               นายธีรศักดิ์  บัวแสง
ตำแหน่ง              ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานฯ เกษตร  
คุณวุฒิการศึกษา     ปริญญาโท (ค.อ.บ. เทคโนโลยีการเกษตร)
ประสบการณ์ทำงาน 36  ปี

ชื่อ-สกุล               นางเยาวเรศ  พันธุ์ประเสริฐ
ตำแหน่ง              ครูชำนาญการพิเศษ     หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
คุณวุฒิการศึกษา     ปริญญาตรี (ค.บ. วิทยาศาสตร์ทั่วไป)
ประสบการณ์ทำงาน 35  ปี








ชื่อ-สกุล               นายพรพีระ  สังข์กระแสร์
ตำแหน่ง              ครูชำนาญการพิเศษ     กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   
คุณวุฒิการศึกษา     ปริญญาโท (ศษ.ม. เทคโนโลยีทางการศึกษา)
ประสบการณ์ทำงาน 29  ปี

ชื่อ-สกุล               นายเกรียงไกร  จันหอม
ตำแหน่ง              ครูชำนาญการ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   
คุณวุฒิการศึกษา     ปริญญาโท (ค.ม. บริหารการศึกษา)
ประสบการณ์ทำงานปี

ชื่อ-สกุล               นายธวัชชัย  วิเศษสิงห์
ตำแหน่ง              ครู  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   
คุณวุฒิการศึกษา     ปริญญาตรี (วท.ม. ฟิสิกส์)
ประสบการณ์ทำงาน 4  ปี

ชื่อ-สกุล               นางนันทนา  วิราศรี
ตำแหน่ง              ครูชำนาญการ     กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานฯ คอมพิวเตอร์
คุณวุฒิการศึกษา     ปริญญาโท (ศศ.ม. เทคโนโลยีการศึกษา)
ประสบการณ์ทำงาน 17  ปี

ฝ่ายติดตามและประเมินผล
ชื่อ-สกุล               นางนุชนาถ  สอนสง
ตำแหน่ง              รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ด้านวิชาการ  
คุณวุฒิการศึกษา     ปริญญาโท (ศษ.ม. หลักสูตรและการนิเทศ)
ประสบการณ์ทำงาน 19  ปี

ชื่อ-สกุล               นายวัฒนา  ปลาตะเพียนทอง
ตำแหน่ง              ครูชำนาญการพิเศษ   กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานฯ คอมพิวเตอร์
คุณวุฒิการศึกษา     ปริญญาโท (กศ.ม. การวิจัยและสถิติทางการศึกษา)
ประสบการณ์ทำงาน 31 ปี

ชื่อ-สกุล               นางหงษ์หยก  ปลาตะเพียนทอง
ตำแหน่ง              ครูชำนาญการพิเศษ     กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานฯ คอมพิวเตอร์
คุณวุฒิการศึกษา     ปริญญาโท (ศศ.ม. หลักสูตรและการสอน)
ประสบการณ์ทำงาน 20  ปี




รายชื่อคณะกรรมการดำเนินการโครงการ
ลำดับ
รายชื่อ
ตำแหน่ง
หมายเหตุ
1.
นายหงษ์ดี  ศรีเสน
ผู้อำนวยการโรงเรียน
ผู้อำนวยการโครงการ
2.
นายศิลปพิสุทธิ์         
     พันชะวะนัด
รองผู้อำนวยการชำนาญการ  ด้านบริหารงานทั่วไป 
คณะทำงานฝ่ายการเงินและบัญชี
3.
นางสาวสิริลักษณ์   
     ภัทรเวียงกาญจน์
ครู
คณะทำงานฝ่ายการเงินและบัญชี
4.
นายพิทักษ์  อยู่เป็นสุข
รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ด้านบุคลากร
คณะทำงานฝ่ายเทคนิค
5.
นายธีรศักดิ์  บัวแสง
ครูชำนาญการพิเศษ
คณะทำงานฝ่ายเทคนิค
6.
นางเยาวเรศ 
     พันธุ์ประเสริฐ
ครูชำนาญการพิเศษ
คณะทำงานฝ่ายเทคนิค
7.
นายพรพีระ             
      สังข์กระแสร์
ครูชำนาญการพิเศษ
คณะทำงานฝ่ายเทคนิค
8.
นายเกรียงไกร  จันหอม
ครูชำนาญการ
คณะทำงานฝ่ายเทคนิค
9.
นายธวัชชัย วิเศษสิงห์
ครู
คณะทำงานฝ่ายเทคนิค
10.
นางนันทนา  วิราศรี
ครูชำนาญการ
คณะทำงานฝ่ายเทคนิค
11.
นางนุชนาถ  สอนสง
รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ด้านวิชาการ
คณะทำงานฝ่ายติดตามและประเมินผล
12.
นายวัฒนา               
    ปลาตะเพียนทอง
ครูชำนาญการพิเศษ
คณะทำงานฝ่ายติดตามและประเมินผล
13.
นางหงษ์หยก                
    ปลาตะเพียนทอง
ครูชำนาญการพิเศษ
คณะทำงานฝ่ายติดตามและประเมินผล












เอกสารประกอบ 2
เอกสารอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ





[1]     แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ.2555-2564) จัดทำโดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ศูนย์การเรียนรู้

ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน