รายงาน

รายการเฉพาะงาน
สถานีผลิตพลังงานในหน่วยงานสถานศึกษา
และโรงพยาบาลของรัฐ (Campus Power) - โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม
1. คุณลักษณะทางเทคนิค
      1.1 ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้ารวมไม่น้อยกว่า 80 กิโลวัตต์
          ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบ Grid backup ขนาดไม่น้อยกว่า 80 กิโลวัตต์ เป็นระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่สามารถทำงานได้ตามหลักการดังนี้
        (1) กรณีที่ระบบสายส่งการไฟฟ้าอยู่ในสภาวะปกติ ระบบฯ สามารถทำงาน ได้เช่นเดียวกับระบบติดตั้งแบบต่อกับระบบจำหน่าย และเมื่อประจุแบตเตอรี่เต็มจะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบสายส่งพร้อมทั้งแปลงและจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้
        (2) กรณีที่ระบบสายส่งการไฟฟ้าขัดข้อง ระบบฯสามารถทำงาน เช่นเดียวกับระบบติดตั้งแบบอิสระโดยสามารถแปลงและจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมทั้งประจุแบตเตอรี่ และ/หรือแปลงกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้
   1.2 แผงเซลล์แสงอาทิตย์ มีรายละเอียด ดังนี้
(1) แผงเซลล์แสงอาทิตย์ จะต้องได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.1843-2553 IEC 61215 รับประกันอายุการใช้งาน แผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยส่งหนังสือรับประกันประสิทธิภาพกำลังไฟฟ้า (Pmax warranty) ของแต่ละปีที่ใช้งานตลอดอายุการใช้งาน 20 ปี ตามมาตรฐานผู้ผลิต  และจัดส่งเอกสารการรับประกัน จากบริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย ให้ โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม ตรวจรับรองก่อนการติดตั้ง
        (2) รับประกันอายุการใช้งานแผงเซลล์แสงอาทิตย์แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ระยะเวลา 3 ปี โดยไม่มีเงื่อนไข (รวมค่าแรง ดำเนินการซ่อม/เปลี่ยนอุปกรณ์ภายใน 3 วัน) และจัดส่งเอกสารการรับประกันให้ โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมตรวจรับรองก่อนการติดตั้ง
 (3) มีกรอบแผงเซลล์ฯ (Frame) เป็นโลหะที่แข็งแรงไม่เป็นสนิมและทนทานต่อสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศได้ดี
(4) ด้านหลังของแผงเซลล์ฯ ติดตั้งขั้วต่อสาย (Terminal box) ที่มีการปิดผนึก และติดตั้งสายไฟฟ้ามาพร้อมแผงเซลล์ฯ อย่างมั่นคง แข็งแรง หรือติดตั้งกล่องต่อสายไฟฟ้า (Junction box) ที่มีฝาที่ปิดล็อคได้อย่างมั่นคง มีความทนทานต่อสภาพอากาศแวดล้อมได้ดีและสามารถป้องกันน้ำเข้าได้ มีขั้วต่อสายไฟที่ติดตั้งภายในกล่องอย่างมั่นคง แข็งแรง
          (5) วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ยึดชุดแผงเซลล์ฯ ต้องเป็นวัสดุที่ทำจากสแตนเลส
   1.3  การติดตั้ง แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทำมุม 15 องศากับแนวระนาบพร้อมจัดทำ SHOP DRAWING ให้ ชย.ทอ.ตรวจอนุมัติก่อนดำเนินการติดตั้ง
   1.4  การจัดหา และติดตั้งอุปกรณ์สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ เช่น แผงเซลล์แสงอาทิตย์ โครงรองรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์  เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า  อุปกรณ์เครื่องวัด  ตู้แสดงค่าทางไฟฟ้า  และอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรายการเฉพาะงาน โดยการติดตั้งวัสดุ ต้องคำนึงถึงความเสียหายที่อาจเกิดจากน้ำหนักของอุปกรณ์  และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมโยธา

   1.5 Grid backup Inverter ขนาดรวมไม่น้อยกว่า 80 กิโลวัตต์ มีรายละเอียดดังนี้
        (1) อุปกรณ์สามารถประจุ และแปลงกระแสไฟฟ้า โดยมีความสามารถทำงานได้ตามหลักการ ในแบบระบบ Grid backup
        (2) สามารถแปลงกระแสไฟฟ้าและจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่า (Rate power) 80 kW. 
        (3) สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าโครงข่ายการไฟฟ้าในระบบ 3Phase 4Wires ได้
        (4) ภาคแปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับมีระบบไฟด้านออก 400 Vac (L-L) /230 Vac(L-N), 3Phase 4Wires
        (5) Total harmonic distortion < 5%
          (6) ประสิทธิภาพไม่น้อยกว่า 91 % ที่พิกัดกำลังไฟฟ้าสูงสุด (Full load)
        (7) รับประกันอายุการใช้งาน Grid backup Inverter 80 kW ระยะเวลา 5 ปี โดยไม่มีเงื่อนไข (รวมค่าแรง ดำเนินการซ่อม/เปลี่ยนอุปกรณ์ภายใน 3 วัน) และจัดส่งเอกสารการรับประกันจากบริษัทผู้ผลิตให้ โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมตรวจรับรองก่อนการติดตั้ง
   1.6  โครงสร้างรองรับชุดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ มีรายละเอียดดังนี้
       (1) โครงสร้างรองรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์กำหนดให้โครงสร้างอลูมิเนียมรองรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์
        (2) ผู้รับจ้างจัดทำรายละเอียด SHOP DRAWING เสนอโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการติดตั้งระบบฯ 
  1.7 อุปกรณ์ป้องกันคลื่นไฟฟ้ากระโชก (Surge Protector) มีรายละเอียดดังนี้
        (1) เป็นชนิดที่ใช้กับระบบไฟฟ้ากระแสสลับ 3 phase  380 Va.c. 50 Hz.
        (2) พิกัดกระแส In ไม่น้อยกว่า 5 kA
        (3) สามารถป้องกันคลื่นไฟฟ้ากระโชกแบบ Transient  และแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำในสายตัวนำเนื่องจากฟ้าผ่า ที่กระแสไฟฟ้าสูงสุดไม่น้อยกว่า 20 kA ที่รูปคลื่นมาตรฐาน 8/20  µSec.
        (4) มีคุณสมบัติในการป้องกันหรือ Mode of protection ต้องสามารถป้องกัน Phase กับGround (L-G), Neutral กับ Ground(N-G).  PhaseกับNeutral(L-N) 
         (5) มีหลอดไฟสัญญาณ LED หรือจอ LCD แสดงสถานภาพการทำงานในสภาวะปกติและสภาวะผิดปกติ
         (6) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติ หรือผลิตตามมาตรฐาน ANSI/IEEE C62.41-1991 หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า
  1.8  แบตเตอรี่  มีรายละเอียดดังนี้
         (1) เป็นแบบ Deep Cycle Battery ชนิด OPzV และเป็นแบตเตอรี่รุ่นเดียวกันทั้งหมด
         (2) มีขนาดความจุพลังงานไฟฟ้ารวมไม่น้อยกว่า 27 kWh.
         (3) มีชุดขาตั้งรองรับแบตเตอรี่ ที่ทำด้วยวัสดุทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด มีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักแบตเตอรี่ทั้งหมดได้อย่างปลอดภัย
          (4) รับประกันอายุการใช้งานแบตเตอรี่ ระยะเวลา 3 ปี โดยไม่มีเงื่อนไข (รวมค่าแรง ดำเนินการซ่อม/เปลี่ยนอุปกรณ์ภายใน 3 วัน) และจัดส่งเอกสารการรับประกันให้ โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมตรวจรับรองก่อนการติดตั้ง
 (5) จัดส่งเอกสารการรับประกันจากบริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย ให้ โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมตรวจรับรองก่อนการติดตั้ง
    1.9  ตู้แสดงค่าทางไฟฟ้า จำนวน 1 ชุด ต่อระบบ มีรายละเอียดดังนี้
         (1) เป็นตู้โลหะทำจากแผ่นโลหะความหนาไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร ทาสีกันสนิมและพ่นสีพื้นเป็นสีเทาหรือสีโทนสีอ่อน
         (2) ด้านหน้าตู้เป็นฝาเปิดปิด พื้นฝาตัดเป็นช่องที่มีสัดส่วนเหมาะสมสำหรับติดตั้งเครื่องมือแสดงค่าทางไฟฟ้า โดยติดกรอบยางหรือวัสดุอื่นๆ ที่มีคุณภาพเทียบเท่าหรือดีกว่าที่ขอบช่องสำหรับติดตั้งเครื่องมือแสดงค่าทางไฟฟ้า
         (3) ติดตั้งเครื่องมือแสดงค่าทางไฟฟ้าบนฝาตู้ พร้อมชื่อของเครื่องมือนั้นๆ โดยพิมพ์ชื่อบน Sticker ชนิดหนาที่ทนต่อการฉีกขาดและติดตั้งให้ครบถ้วนอย่างเป็นระเบียบสวยงาม โดยมีเครื่องมือแสดงค่าทางไฟฟ้า มีรายละเอียดดังนี้                 
               - DC Volt meter, DC Amp meter เพื่อแสดงค่ากระแสและแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงชั่วขณะที่ออกจากชุดแผงเซลล์แสงอาทิตย์แต่ละชุด
               - AC Volt meter, AC Amp meter เพื่อแสดงค่ากระแสและแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับค่าชั่วขณะที่ออกจากอินเวอร์เตอร์
               - AC kWh meter หรือมาตรวัดพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ ชนิดจานหมุน  ที่เป็นผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. 2336-2552 เพื่อแสดงค่าพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับสะสมที่อินเวอร์เตอร์จ่ายให้แก่โหลดไฟฟ้าทั้งหมด 
                - เครื่องมือที่ใช้แสดงค่าทางไฟฟ้า ต้องมี Accuracy class ไม่เกิน 2.5 มีพิกัดทางไฟฟ้าและขนาดช่อง Scale ที่เหมาะสมกับขนาดทางไฟฟ้าที่ตรวจวัด สามารถอ่านค่าได้ง่าย และเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพดีได้รับการรับรองหรือผลิตตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น DIN หรือ JIS หรือ IEC หรือ IEEE  เป็นต้น
          (4) การเดินสายวงจรไฟฟ้าภายในตู้ต้องเป็นระเบียบ สวยงาม กำหนดให้ใช้สายไฟฟ้าชนิด THW. หุ้มฉนวน PVC มีคุณสมบัติใช้งานแรงดัน 750 V. 70 C และได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. 11-2531 หรือสายไฟฟ้าชนิดอื่นที่ดีกว่า ขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 4 sq.mm. และต้องสามารถทนกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ไหลผ่านสายได้อย่างปลอดภัย  การต่อสายต้องยึดด้วยสกรูบน Terminal box ที่ติดตั้งอย่างเป็นระเบียบ แข็งแรงและปลอดภัย
    1.10  ระบบสายดินและป้องกันฟ้าผ่า  ติดตั้งระบบล่อฟ้าให้ป้องกันคลอบคลุมบริเวณติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน วสท. โดยส่งรายละเอียด SHOP DRAWING เสนอโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการติดตั้ง
    1.11 ระบบทำความสะอาดแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อัตโนมัติ
1)      มีปั๊มน้ำแรงดันสูง จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ตัว
2)      หัวพ่น (Nozzle) ทำจากวัสดุ ABS UV coating จำนวนอย่างน้อย 68 ชุด
3)      หัวพ่นน้ำมุมกว้าง 30 -180 องศา ด้วยระยะทาง 5 เมตร รับแรงดันได้ 1- 2.5 บาร์
4)      ระบบกรองน้ำแบบ Micro filter
5)      ควบคุมการทำงานด้วยชิพคอมพิวเตอร์ แบบ OS 3.0 เมื่อความร้อนสูงเกินระดับที่ตั้งไว้ ระบบจะทำงานด้วยการสั่งให้พ่นละอองน้ำลดความร้อนหน้าแผงให้ลดลงจนถึงระดับที่ตั้งไว้
6)      ใช้ไฟฟ้า 220 Vac
7)      มีระบบ Communication แบบ RS485/RS422
8)      อายุการทำงานไม่ต่ำกว่า 20 ปี
9)      ใช้ระบบน้ำธรรมดาไม่ใช้สารเคมี
10)  มีกล่องควบคุมการพ่นน้ำ ควบคุมการทำงานกล่องพร้อมเซนเซอร์ตรวจจับความร้อนใต้แผง มีจอแสดงผลการทำงาน
11)  ขาจับอุปกรณ์ไม่มีการเจาะยึดที่ตัวแผง
12)  มีถังเก็บน้ำสำรองขนาดความจุรวมไม่น้อยกว่า 3 ลบ.ม.
13)  รับประกันอายุการใช้งานระบบทำความสะอาดแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อัตโนมัติ ระยะเวลา 3 ปี โดยไม่มีเงื่อนไข (รวมค่าแรง ดำเนินการซ่อม/เปลี่ยนอุปกรณ์ภายใน 3 วัน) และจัดส่งเอกสารการรับประกันให้ โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมตรวจรับรองก่อนการติดตั้ง
14)  จัดส่งเอกสารการรับประกันจากบริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย ให้โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมตรวจรับรองก่อนการติดตั้ง
1.12 ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ขนาดกำลังผลิตรวม 1 kW
1)      Startup wind speed ที่ 0.9 m/s
2)      Rated wind speed ที่ 12.5 m/s
3)      Blade แบบ Spiral ทำจากวัสดุ FRP(Fiber Reinforced Plastic)
4)      Generator Rated Power ที่ 1 kW
5)      Generator Maximum Power ที่ 1.5 kW
6)      มีระบบ Electromagnetic Brake
7)      รับประกันอายุการใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ระยะเวลา 3 ปี โดยไม่มีเงื่อนไข (รวมค่าแรง ดำเนินการซ่อม/เปลี่ยนอุปกรณ์ภายใน 3 วัน) และจัดส่งเอกสารการรับประกันให้ โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมตรวจรับรองก่อนการติดตั้ง
8)      จัดส่งเอกสารการรับประกันจากบริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย ให้โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมตรวจรับรองก่อนการติดตั้ง
    1.13 เตาชีวมวลขนาดกลาง
1)      เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการหุงต้มสำหรับครัวเรือนในท้องตลาด ใช้แทนเตาอั้งโล่และเตาแก๊ส
2)      สามารถใช้วัสดุเหลือทิ้งการเกษตรมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้  เช่น เศษกิ่งไม้  กะลามะพร้าว  ซังข้าวโพด  เป็นต้น
3)      อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถผลิตความร้อนได้ต่อเนื่อง
4)      รูปแบบเตา  มีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 เซนติเมตร  ความสูง 47 เซนติเมตร  ไม่รวมขาตั้ง เปลือกเตาตัวนอกและตัวในทำจากวัสดุประเภทแผ่นเหล็ก (Steel Plate)
5)      ตัวเตามีห้องเผาไหม้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร และปากเตาทำจากวัสดุประเภทแผ่นเหล็ก (Steel Plate) ดัดแปลงขึ้นรูปเป็นปากเตาหุงต้ม  โดยทั่วไปเพื่อใช้รองรับภาชนะหุงต้ม
6)      บริเวณด้านบนของห้องเผาไหม้ จะมีรูหรือช่อง เพื่อรับก๊าซจากห้องเผาไหม้มาผลิตเป็นความร้อน
7)      ช่องเติมฟืนของตัวเตา ทำจากวัสดุประเภทเหล็กแผ่น (Steel Plate) มีความหนา                    2 มิลลิเมตร
8)      ระหว่างเปลือกเตาตัวนอก และเปลือกเตาตัวใน มีฉนวนใยแก้วกันความร้อน
9)      ตัวเตาจะต้องมีหูหรือมือจับ เพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายได้สะดวก ทำจากวัสดุประเภทเหล็กเส้นกลม RB9
10)  ตะแกรงรองรับเชื้อเพลิงสำหรับห้องเผาไหม้ ทำจากวัสดุประเภทเหล็กแผ่น (Steel Plate) มีขนาดความหนา 12 มิลลิเมตร
11)  ขาตั้งเตาทำจากวัสดุประเภทเหล็กฉาก ขนาด 50 x 50 มิลลิเมตร ความหนา 1.6 มิลลิเมตร
12)  ฝาปรับอากาศตัวเตา ทำจากวัสดุประเภทเหล็กแผ่น (Steel Plate) มีความหนา               2 มิลลิเมตร สามารถปรับอากาศได้  เพื่อช่วยเกิดการลุกไหม้ได้ดีขึ้น
13)  ถาดชักขี้เถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้  ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ และถอดทำความสะอาดได้ ทำจากวัสดุประเภทเหล็กแผ่น (Steel Plate)  มีความหนา 2 มิลลิเมตร
14)  ข้อความและเนื้อหาที่ระบุขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  ความกว้าง  ความยาว  ความสูง และความหนา ของลักษณะข้อกำหนดคุณสมบัติเฉพาะทุกข้อให้สามารถมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ± 5%
    1.14 ศูนย์เรียนรู้
1) เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำหรับสาธิต เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ด้านการใช้พลังงานทดแทน ให้กับครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักเรียน หน่วยงาน ชุมชน และประชาชนทั่วไป เข้ามาเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ได้อย่างสะดวก
2) ฝึกอบรมให้ความรู้ด้านพลังงานทดแทนให้กับบุคลากรของโรงเรียน เพื่อเป็นวิทยากรตัวคูณในการให้คำอธิบาย ให้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างทัศนคติด้านอนุรักษ์พลังงาน พลังงานทดแทน และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม ให้กับบุคคลที่สนใจมาเยี่ยมชม โดยจะมีทั้งการบรรยายและศึกษาดูสถานที่ติดตั้งใช้งานจริง ตลอดจนการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากศูนย์เรียนรู้ดังกล่าว ออกไปเผยแพร่ให้ความรู้กับหน่วยงานภายนอก เช่น โรงเรียน วัด องค์การบริหารส่วนตำบล หน่วยงานราชการอื่นๆ หน่วยงานเอกชน และประชาชนทั่วไปได้ด้วย
3) มีระบบแสดงค่าการผลิตไฟฟ้าและบริหารจัดการพลังงานภายในอาคาร เรียกว่า HEMS (Home Energy Management System) ที่สามารถแสดงค่าต่างๆ ได้ real time ดังต่อไปนี้
3.1) แสดงปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบ
3.2) แสดงปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมทั้งอาคาร และอุปกรณ์ ตลอดจนค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้
3.3) แสดงการเปรียบเทียบปริมาณ CO2 ที่เกิดจากระบบสายส่ง
3.4) สามารถแสดงผลและติดตามผลผ่านทางระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless) เพื่อตรวจสอบค่าต่างๆ ได้จากระบบ internet, smart phone และ war room
ซึ่งระบบ HEMS มีรายละเอียดดัง Diagram ต่อไปนี้
          อุปกรณ์หลักของระบบ HEMS






















โดยการทำงานของระบบเมื่อสัญญาณจาก CT ส่งมายัง Smart EL Sensor หรือ Smart Ecowatt จะวิเคราะห์ผลและส่งเป็นสัญญาณ Wireless ไปยัง Smart Gateway ซึ่งต่อกับ Router เพื่อส่งสัญญาณเข้าสู่ระบบ internet ในการแสดงผลการตรวจวัดค่าต่างๆ ข้างต้น เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามผลได้อย่าง real time บนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระบบ internet, smart phone ทั้งระบบ iso และ android และสามารถส่งไปยังศูนย์ติดตามผลส่วนกลาง (War room) ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
การติดตั้งระบบ HEMS
ติดตั้งโดยใช้ CT Clamp Line Cable สายไฟฟ้าที่ต้องการวัดค่าและแสดงผลเพื่อติดตามประเมินผลการผลิตพลังงานทดแทน และการใช้พลังงานที่ผลิตได้ของอุปกรณ์ต่างๆ





























การแสดงผลระบบ HEMS (Monitoring)
ระบบ HEMS จะแสดงผลค่าที่ตรวจวัดและวิเคราะห์ผลการผลิตพลังงานทดแทน การใช้พลังงานที่ผลิตได้เพื่อทดแทนพลังงานไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้า รวมทั้งวิเคราะห์ถึงค่า CO2 ที่สามารถลดลงได้จากการผลิตพลังงานทดแทน ค่าไฟฟ้าที่สามารถลดได้ เพื่อการบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
















































































































4) ส่งขออนุมัติ Shop Drawing ให้โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม ตรวจรับรองก่อนการติดตั้ง
5) จัดส่งเอกสารการรับประกันจากบริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย ให้โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมตรวจรับรองก่อนการติดตั้ง
  1.15 ให้ผู้ขายเขียนตารางวงรอบการบำรุงรักษาอุปกรณ์พร้อมแจกแจงรายละเอียดอะไหล่และค่าซ่อมบำรุงตลอดอายุการใช้งาน

2. ขอบเขตการติดตั้ง 
          (1) ผู้ขายจัดทำรายละเอียด SHOP DRAWING เสนอโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการติดตั้งระบบฯ 
        (2) การเดินสายต่อวงจรไฟฟ้าระหว่างแผงเซลล์ฯ จะต้องต่อวงจรแบบอนุกรมและแบบขนานให้พิกัดแรงดันไฟฟ้า Output และกระแสไฟฟ้ามีค่าเหมาะสมสอดคล้องกับ Nominal input voltage และ Input current  ของอุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ โดยใช้สายไฟฟ้าที่ติดตั้งพร้อม Terminal box ของแผงเซลล์ฯ ต่อวงจรให้เรียบร้อยแข็งแรง หรือใช้สายไฟฟ้าชนิด THW. แกนเดี่ยว หุ้มฉนวน PVC พิกัดแรงดัน 750 V. 70 C และได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. 11-2531 ขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 4 sq.mm. ต้องจัดเก็บสายไฟฟ้าให้เป็นระเบียบ สวยงามและแสดง Code สีของสายไฟฟ้าอย่างชัดเจน จุดต่อรวมสายไฟของชุดแผงเซลล์ฯ หรือ DC junction box  ต้องยึดบนขั้วต่อสายที่มั่นคง แข็งแรงและจัดเก็บอยู่ภายในกล่องพลาสติกหรือกล่องโลหะชนิดใช้งานภายนอกที่สามารถป้องกันฝุ่นและน้ำได้ และติดตั้งอย่างเหมาะสมมั่นคงและแข็งแรง                          
        (3) การเดินสายไฟฟ้าระหว่างจุดต่อรวมสายไฟของชุดแผงเซลล์ฯ หรือ DC junction box กับ Safety switch กำหนดให้ใช้สายไฟฟ้า ชนิด NYY แกนคู่ หุ้มฉนวน PVC พิกัดแรงดัน 750 V. 70 C และได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. 11-2531 ขนาดสายไฟฟ้าต้องสามารถทนกระแสสูงสุดไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของพิกัดกระแส Imp ของชุดแผงเซลล์ฯ โดยให้เดินสายภายในท่อ HDPE ฝังดินที่ความลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และสายไฟฟ้าระหว่าง DC junction box กับขั้วต่อสาย MCB ต้องเป็นเส้นเดียวโดยตลอด ห้ามใช้สายไฟฟ้าที่มีการต่อเชื่อมเด็ดขาด
3. ระยะเวลาดำเนินการและวงเงิน
ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 150 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญาจ้าง วงเงิน 8,202,700 บาท (แปดล้านสองแสนสองพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)

4.   ระยะเวลาและแผนการดำเนินงาน

             โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม คาดว่าจะใช้เวลาในการดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ในเวลา 12 เดือนนับจากการลงนามในหนังสือยืนยันกับกองทุนฯ โดยมีกรอบแผนดำเนินการ ดังนี้  
กิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินการ (เดือน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
1. จัดประชุมคณะทำงาน












2. สำรวจพื้นที่ติดตั้ง












3. ออกแบบระบบเทคโนโลยี
 - Solar Rooftop
 - Solar tracking
 - ระบบล้างทำความสะอาดแผง Solar Cell
 - Wind turbine
 - เตาชีวมวล












4. กำหนด TOR












5. จัดซื้อ/จัดจ้าง












6. ดำเนินการติดตั้งเทคโนโลยีพลังงานทดแทน












7. ทดสอบการใช้งานระบบ












8. ใช้งานเทคโนโลยีพลังงานทดแทนจริง และเก็บข้อมูล












9. วิเคราะห์ข้อมูลเทคโนโลยีพลังงานทดแทน












10. ฝึกอบรมการใช้งานเทคโนโลยีพลังงานทดแทน












11.ประเมินผล สรุปผลการดำเนินงานโครงการ












 

5.   การติดตามและรายงานความก้าวหน้า

      จัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอ พพ. จำนวน       4      ฉบับ ภายในกำหนดเวลาดังนี้
      รายละเอียด
กำหนดเวลาส่งรายงาน
รายละเอียดของกิจกรรมที่จะส่ง
รายงานเบื้องต้น
ภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่ลงนามในหนังสือยืนยันรับการสนับสนุน
แนวทางและแผนการดำเนินการตลอดทั้งโครงการ พร้อมร่างข้อกำหนดการจัดซื้อจัดจ้าง
รายงานความก้าวหน้า
ฉบับที่ 1
ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่ลงนามในหนังสือยืนยันรับการสนับสนุน
รายงานผลการดำเนินงานของโครงการพร้อมหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้าง
รายงานความก้าวหน้า
ฉบับที่ 2
ภายใน 8 เดือนนับตั้งแต่วันที่ลงนามในหนังสือยืนยันรับการสนับสนุน
รายงานผลการดำเนินงานของโครงการความก้าวหน้างานไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของโครงการ
รายงานฉบับสมบูรณ์
ภายใน 12 เดือนนับตั้งแต่วันที่ ลงนามในหนังสือยืนยันรับการสนับสนุน
รายงานผลการดำเนินงานของโครงการทั้งหมดรวมผลการทดสอบระบบ เครื่องจักร อุปกรณ์



          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ศูนย์การเรียนรู้

ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน